ประวัติ “ชลน่าน ศรีแก้ว” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่

เป็นไปตามคาด! สำหรับ “นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว” ที่เพิ่งแถลงลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทยมาหมาดๆ และถูกคาดการณ์เอาไว้ว่าอาจมาเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน

 ประวัติ “ชลน่าน ศรีแก้ว” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่

ล่าสุด ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี “ครม.เศรษฐา 1” โดยมี “นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว” เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ด้วย

พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “ครม.เศรษฐา 1”

ประวัติ "พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค" รองนายกฯ – รมว.พลังงาน "ครม.เศรษฐา 1" 

วันนี้ ทีมข่าว นิวมีเดีย พีพีทีวี จึงได้รวบรวมประวัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่มาฝากกัน ว่าที่ผ่านมาเขามีบทบาทและหน้าที่ในทางการเมืองอย่างไรบ้าง

ประวัติ “หมอชลน่าน”

นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2504 ที่ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่านมีชื่อเล่นว่า “ไหล่” เป็นบุตรของนายใจ และนางหมาย ศรีแก้ว

สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปีการศึกษา พ.ศ. 2529 (ร่วมรุ่นกับ นายแพทย์ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ และ นายแพทย์บัญญัติ เจตนจันทร์) และปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในปี พ.ศ.2542

ก่อนมาลงสนามการเมือง นายแพทย์ชลน่าน เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลเวียงสา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน ในระว่างปี พ.ศ. 2538-พ.ศ. 2543 ต่อมาได้เข้ามาทำงานการเมือง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดน่าน สังกัดพรรคไทยรักไทย

เส้นทางการเมืองของ “หมอไหล่”

นายแพทย์ชลน่าน ได้รับเลือกตั้งเป็น สส.น่าน หลายสมัย ตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน

  • เลือกตั้ง 2544 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคไทยรักไทย
  • เลือกตั้ง 2548 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคไทยรักไทย
  • เลือกตั้ง 2550 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย
  • เลือกตั้ง 2554 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคเพื่อไทย
  • เลือกตั้ง 2562 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคเพื่อไทย
  • เลือกตั้ง 2566 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคเพื่อไทย

ในปี พ.ศ. 2547 นายแพทย์ชลน่าน ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และปี พ.ศ. 2548 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และเป็นกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) นอกจากนั้นแล้ว ยังได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกพรรคเพื่อไทย ในระยะหนึ่งอีกด้วย

นายแพทย์ชลน่าน เคยได้รับฉายา จากสื่อมวลชนประจำรัฐสภา และยังได้เป็น "ดาวสภา" เพราะหมอชลน่าน บทบาทการอภิปรายโดยมุ่งเอาข้อมูล มากกว่าการใช้วาทศิลป์ กระทั่งต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

และในปี พ.ศ. 2564 วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เขาเป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

นายแพทย์ชลน่าน กลับมาประเด็นอีกครั้ง หลังพรรคเพื่อไทยมีการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ จนทำให้ นายแพทย์ชลน่าน ถูกตั้งคำถามจากคนในสังคม จากกรณีที่เคยประกาศไว้ว่า จะลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค หากพรรคเพื่อไทยจับมือกับพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมไทยสร้างชาติ

กระทั่งล่าสุด นายแพทย์ชลน่าน ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทยอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ถือเป็นการปิดฉากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในยุคที่ท้าทาย และจุดยืนพรรคเพื่อไทยถูกตั้งคำถามมากที่สุด

ห่างจากนั้นมาไม่นาน เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2566 ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ นายแพทย์ชลน่าน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยิ่งกลายเป็นการดำรงแหน่งที่ถูกพูดถึงท่ามกลางกระแสสังคมที่ว่า หรือนี่จะเป็นการลาออกเพื่อไปรับตำแหน่งที่ใหญ่กว่า ไม่ใช่การเสียสละ อย่างที่ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เคยพูดถึงเอาไว้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย

ภาพจาก : PPTV

You May Also Like

More From Author